สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒธรรม ม.1 หน่วยที่ 1 พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

13/7/56 0 ความคิดเห็น
  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 
7698
 1.  ความหมายของพลเมืองดี 
          1.1 พลเมือง หมายถึง พละกำลังของประเทศ ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศนั่นเอง ต่างจากชาวต่างด้าวเข้าเมือง ชาวต่างประเทศนี้เข้ามาอยู่ชั่วคราว
พลเมืองมีความหมายต่างจากบุคคล ซึ่งหมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
          พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมือง และมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
          1.2 พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
c3
หมายถึง  พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ  คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา  มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมายดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย
 2. หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ 
         2. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  หมายถึง  ประชาชนเป็นเจ้าของ  อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
         2.2  หลักความเสมอภาค  หมายถึง  ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย  ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความเท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ  ได้แก่  มีสิทธิเสรีภาพ  มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือการเลือกปฏิบัติ  ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า
         2.3  หลักนิติธรรม  หมายถึง  การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม
         2.4  หลักเหตุผล  หมายถึง  การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม
         2.5  หลักการถือเสียงข้างมาก หมายถึง  การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย  ครอบครัว ประชาธิปไตย  จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ  ได้อย่างสันติวิธี
         2.6  หลักประนีประนอม  หมายถึง  การลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน  ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม  เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมได้
c1
 3. คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี          3.1  การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
         3.2  การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
         3.3   รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
         3.4  ความซื่อสัตย์สุจริต
         3.5  ความสามัคคี
         3.6  ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว
         3.7  ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
         3.8  การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ
 4. จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี           คุณธรรม  จริยธรรม  หมายถึง  ความดีที่ควรประพฤติ  กิริยาที่ควรประพฤติ  คุณธรรม  จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี  ได้แก่
          4.1  ความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  หมายถึง  การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย  การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา  และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
         4.2  ความมีระเบียบวินัย  หมายถึง  การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
         4.3  ความกล้าทางจริยธรรม  หมายถึง  ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
         4.4  ความรับผิดชอบ  หมายถึง  การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น  หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
         4. การเสียสละ  หมายถึง  การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น  หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
         4.6  การตรงต่อเวลา  หมายถึง  การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
c2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น