ภาษาไทนมัธยมศึกษาปีที่ 1 บทที่ 3 คำยืมจากภาษาบาลี สันสกฤต

10/7/56 0 ความคิดเห็น

บทที่ 3 คำยืมจากภาษาบาลี สันสกฤต

คำบาลี  สันสกฤต
1.  สระสันสกฤต แปลกจากบาลี6 ตัว คำใดประสมด้วย
       สระ  ฤ  ฤา  ลึ  ลื  ไอ  เอา  เป็นคำในภาษาสันสกฤต 
2. คำใดประสมด้วย  ศ  ษ  มีในภาษาสันสกฤต  ไม่มีใน
      ภาษาบาลี  เช่น  อภิเษก  ศีรษะ  อวกาศ  ศัตรู  ศิลปะ
      ราษฎร  ศอก  ศึก  อังกฤษ  ศึกษาศาสตร์ 
3. คำสันสกฤต ใช้  ฑ  เช่น  กรีฑา 
      คำสันสกฤต  ไม่นิยมใช้  ฬ 
4.  คำในภาษาสันสกฤตมีระบบเสียงควบกล้ำ หรือ
       พยัญชนะประสม  คำควบกล้ำจึงมักเป็นคำภาษา
       สันสกฤต  เช่น  สตรี  ปรารถนา  สวัสดี  สมัคร  มาตรา
       อินทรา
5. ตัว ร ที่ควบกับคำอื่นและใช้เป็นตัวสะกด 
       เช่น  มรรคสรรพ มารค
6. คำที่ใช้  ห์  มักเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต 
       เช่น   สังเคราะห์   โล่ห์  อุตส่าห์ เท่ห์ เล่ห์  เสน่ห
7. ฤ  (ฤทธิ)  ในสันสกฤต จะเป็น อิทธิ  (อิ อุ)
1.ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2.ภาษาบาลีมีพยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้                       
ก.พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ได้แก่
พัญชนะวรรค/ฐาน
  •  ตัวที่ 1
  •  ตัวที่ 2
  •  ตัวที่ 3
  •  ตัวที่ 4
  •  ตัวที่ 5
  • วรรคที่ 1 ฐานคอ ก ข ค ฆ ง 
  • วรรคที่ 2 ฐานเพดาน จ ฉ ช ฌ ญ 
  • วรรคที่ 3 ฐานปุ่มเหงือก ฎ ฐ ฑ ฒ ณ 
  • วรรคที่ 4 ฐานฟัน ต ถ ท ธ น 
  • วรรคที่ 5 ฐานริมฝีปาก ป ผ พ ภ ม

ข.เศษวรรคมี 8 ตัว ย ร ล ว ส ห ฬํ °
3.ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ
4.คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม เช่น วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ เป็นตัวตาม
ตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฎดังนี้
ก.พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5
ข.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
ค.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
ง.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้
ตัวอย่าง

  • ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ
  • ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์
  • ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
  • ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
  • ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา

ข้อสังเกต คำบาลีบางคำมีตัวสะกดไม่มีตัวตาม เพราะเดิมมีตัวสะกด เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
เราตัดตัวสะกดออก เช่น

  •                      จิต     มาจาก   จิตต
  •                      กิต     มาจาก   กิจจ
  •                      เขต    มาจาก   เขตต
  •                      รัฐ     มาจาก    รัฏฐ
  •                      วัฒน   มาจาก   วัฑฒน
  •                      วุฒิ    มาจาก    วุฑฒิ

5.คำภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปฐม  (สันสกฤตใช้ ประถม) ,อินท์ (สันสกฤตใช้ อินทร์)
6.คำบางคำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ เช่น

คำสันสกฤต มีลักษณะดังนี้

  • 1.ภาษาสันสกฤตมีสระ 14 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา
  • 2.ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ จากภาษาบาลี)
  • 3.ภาษาสันสกฤตมีตัวสะกดตัวตาม แต่ไม่มีกฎเหมือนภาษาบาลี เช่น
  • 4.คำในภาษาสันสกฤตนิยมคำควบกล้ำ เช่น พัสตร์ จันทร์
  • 5.คำบางคำในภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ
  • 6.คำว่า "เคราะห์" มีในภาษาสันสกฤตเท่านั้น
  • 7.ภาษาสันสกฤตมีตัว รฺ (ร เรผะ) ซึ่งไทยนำมาใช้เป็น รร ฉะนั้นคำที่มี รร ส่วนหนึ่งในภาษาไทย จึงมาจากภาษา


สันสกฤต
      เปรียบเทียบภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี
ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
  •  1.มีสระ 8 ตัว 1.มีสระ 14 ตัว (เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา) 
  •  2.มีพยัญชนะ 33 ตัว มีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ) 
  •  3.มีตัวสะกดตัวตามตามกฎ 3.มีตัวสะกดตัวตามไม่ตามกฎ 
  •  4.ไม่นิยมตัวควบกล้ำ 4.นิยมตัวควบกล้ำ 
  •  5.ใช้ ฬ 5.ใช้ ฑ 
  •  6.มีคำว่า "เคราะห์" 
  •  7.มี รฺ (ร เรผะ) ซึ่งเปลี่ยนเป็น รร ในภาษาไทย

ข้อสังเกต คำบางคำใช้ ศ ษ แต่เป็นคำไทยแท้ เช่น ศอ ศอก ศึก เศิก ดาษ ดาษดา ฯลฯ
ตัวอย่างคำภาษาบาลี
กิจ ทัณฑ์ ยาน มัชฌิม พิมพ์ ขัณฑ์ ขันธ์ ขัตติยา บุญ นิพพาน วิชา วุฒิ สามัญ อัคคี สัญญาณ
มัจฉา มเหสี อุตุ อักขร อัชฌาศัย ขณะ ปัจจุบัน อิตถี อัตถุ อัจฉรา ภริยา อิทธิ ปกติ วิตถาร
ปัญญา กัญญา กัป
ตัวอย่างภาษาสันสกฤต
กษัตริย์ อัศวะ ขรรค์ คฤหัสถ์ บริบูรณ์ อธิษฐาน สวรรค์ ศึกษา วิทยุ นิตย์ ทฤษฎี ปราโมทย์
ไอศวรรย์ จักร อาศัย ปราศรัย วิเศษ มรรค มัธยม สถาปนา ปรัชญา อมฤต สถาน จักษุ รัศมี
ภรรยา บุษบา กัลป์ ราษฎร บุญย ศรี

        

        ภาษาไทยมีภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปะปนอยู่มากมายจนกลายเป็นภาษาหลักของภาษาไทย   ไทยรับภาษาบาลีเข้ามาทางพระพุทธศาสนา และภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์
สระและพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤต
        ภาษาบาลี  มีสระ 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ  
        ภาษาสันสกฤต  เพิ่มจากบาลีอีก 6 ตัว คือ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ รวมเป็น 14  ตัว 
       พยัญชนะบาลี  มี 33 ตัว แบ่งเป็น 5 วรรค ๆ ละ 5 ตัวตามฐานที่เกิดกับเศษวรรคอีก 8 ตัว    
       พยัญชนะสันสกฤต มีเหมือนบาลี 33 ตัว และเพิ่ม ศ ษ เข้าไป รวมเป็น 35  ตัว
พยัญชนะบาลีแยกตามฐานที่เกิด
วรรค  -  ฐานที่เกิด
  •  แถวที่ 1
  •  แถวที่ 2
  •  แถวที่ 3
  •  แถวที่ 4
  •  แถวที่ 5
 เศษวรรค
วรรคกะ - ฐานคอ(กัณฐชะ)
  •  ก
  •  ข
  •  ค
  •  ฆ
  •  ง
  •  ห
วรรคจะ - ฐานเพดาน(ตาลุชะ)
  •  จ
  •  ฉ
  •  ช
  •  ฌ
  •  ญ
  •  ย
วรรคฏะ - ฐานปุ่มเหงือก
               (มุทธชะ)

  •  ฏ
  •  ฐ
  •  ฑ
  •  ฒ
  •  ณ
  •  ร,   ฬ
วรรคตะ - ฐานฟัน(ทันตชะ)
  •  ต
  •  ถ
  •  ท
  •  ธ
  •  น
  •  ล,  ส
วรรคปะ - ฐานริมฝีปาก(โอฐชะ)
  •  ป
  •  ผ
  •  พ
  •  ภ
  •  ม
  •  ว
   (นิคหิต)  เกิดในจมูก
    เรียกว่า   “นาสิก"
              รูปสระที่อยู่โดยลำพังมิได้ประสมกับพยัญชนะ  เรียกว่า  “สระลอย”
              รูปสระที่ประสมกับพยัญชนะเรียกว่า  “สระจม”
คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตมีหลักการสังเกตดังนี้
             1. ตัวสะกด ตัวตามที่เป็นพยัญชนะเดียวกันในภาษาบาลี ไทยลด 1 ตัว  เช่น สจฺจ - สัจ,   นิจฺจ - นิจ,   กมฺม - กัม,   มนุสฺส - มนุส,  จิตฺต - จิต,     วิชฺชา - วิชา   ฯลฯ
             2.   ตัวสะกด ตัวตามในภาษาบาลีต้องเป็นพยัญชนะในวรรคเดียวกัน   คือ

  •   ตัวสะกด
  •   ตัวตาม
  •   ตัวอย่างคำ
  •   พยัญชนะแถวที่  1 
  •   พยัญชนะแถวที่ 1,  2
  •   บุปผา,   สัจจะ,   ทุกข์  
  •   พยัญชนะแถวที่  3 
  •   พยัญชนะแถวที่ 3,  4
  •   อัชฌาสัย,   สัทธา 
  •   พยัญชนะแถวที่  5 
  •   พยัญชนะแถวที่ 1, 2, 4, 5
  •   เบญจ,   สัญญา,   กัณฐ์,   ขันธ์,   สังข์  
ภาษาไทยลดตัวสะกดในวรรค ฏะ ออก เหลือแต่ตัวตาม  เช่น  รฏฺฐ  ไทยใช้  รัฐ   วฑฺฒน  ไทยใช้  วัฒนา  วุฑฺฒิ  -  วุฒิ
             3. คำที่มี  ฬ  มาจากภาษาบาลี   เช่น   กีฬา   จุฬา 
             4. ตัวสะกด ตัวตามในภาษาสันสกฤตไม่จำเป็นต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน เช่น มัธยม ภักดี อัคนี มารดา อัปสร  ศัพท์  ฯลฯ
             5. คำควบกล้ำไม่ใช่ภาษาบาลี มาจากภาษาสันสกฤต  เช่น  ประถม จักร โคตร กริยา นิทรา ปราโมทย์   ฯลฯ
             6. คำที่ประสมด้วยสระไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ มีแต่ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ในภาษาบาลี (ยกเว้นคำว่า อังกฤษ)    เช่น  ฤๅษี  ไมตรี เยาวชน นฤมล  คฤหัสถ์ อมฤต ไพรี  เสาร์  
             7. คำที่มี  ศ ษ (ยกเว้นคำที่ไทยยืมพยัญชนะมาใช้  ได้แก่ ศอก  ศึก เศิก อังกฤษ ฝรั่งเศส)  เช่น ลักษมี เกษียณ พฤษภาคม ศัลยกรรม ราษฎร เกษตร ฯลฯ
             8. ตัว ส ในภาษาสันสกฤตใช้กับพยัญชนะวรรค ตะ  เช่น พิสดาร สถาน สตรี สวัสดี ฯลฯ
             9. คำที่มี “รร” แผลงมาจาก รฺ เดิม มาจากภาษาสันสกฤต เช่น  ธรรม  สรรพ  พรรษา  กรรณิการ์  สรรพ  ครรภ์  สวรรค์  ฯลฯ (ยกเว้นคำที่แผลงมาจาก กระ ประ เช่น กรรโชก แผลงมาจาก กระโชก,  บรรจบ แผลงมาจาก  ประจบ,  กรรหาย แผลงมาจาก  กระหาย)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น