วิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 1 เทอม 2 บทที่ 2 งานและพลังงาน

11/7/56 0 ความคิดเห็น

พลังงานความร้อน

พลังงานความร้อน หรือ พลังงานอุณหภาพ เป็น รูปแบบหนึ่งของพลังงาน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงพลังงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์, พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย
หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์

อุณหภูมิและหน่วยวัด

ในชีวิตประจำวันเราจะคุ้นเคยกับการใช้พลังงานความร้อน (thermal energy) อยู่เสมอ พลังงานความร้อนเป็นพลังงานที่สามารถถ่ายเทจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เมื่อวัตถุดูดกลืนพลังงานความร้อนจะทำให้วัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงเกิดการถ่ายเทพลังงานความร้อนให้กับวัตถุอื่นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ซึ่งต้นกำเนิดของพลังงานความร้อนมาจากดวงทิตย์ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การขัดถูกันของวัตถุ และจากพลังงานไฟฟ้า วัตถุเมื่อได้รับพลังงานความร้อนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิเป็นปริมาณที่บอกให้ทราบถึงระดับความร้อนของวัตถุ เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิมีหลายชนิดที่นิยมใช้กันมากคือ เทอร์มอมิเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการขยายตัวของของเหลวเมื่อได้รับความร้อน มีลักษณะเป็นหลอดแก้วยาว ปลายทั้งสองข้างปิด ปลายหลอดข้างหนึ่งเป็นกระเปาะ ซึ่งบรรจุของเหลวที่ขยายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อน และหดตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความเย็น ของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในเทอร์มอมิเตอร์นิยมใช้ปรอทซึ่งมีสีเงิน แต่บางทีก็ใช้แอลกอฮอล์ผสมสีบรรจุในเทอร์มอมิเตอร์แทนปรอท
หน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิที่นิยมกันอย่างแพร่หลายคือ องศาเซลเซียส ( ํC) องศาฟาเรนไฮต์ ( ํF) และเคลวิน (K) โดยกำหนดว่า อุณหภูมิที่เป็นจุดเยือกแข็งของน้ำบริสุทธิ์ คือ 0 องศาเซลเซียส หรือ 32 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 273 เคลวิน และอุณหภูมิที่เป็นจุดเดือดของน้ำบริสุทธิ์ คือ 100 องศาเซลเซียส หรือ 212 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 373 เคลวิน

2.2พลังงานและการเปลี่ยนรูปของพลังงาน

พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงของสาร
            การเปลี่ยนแปลงของสาร เช่น การเปลี่ยนสถานะ การละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
สถานะของสาร จำแนกได้ 3 ประเภท คือ

            1.ของแข็ง
ุภาคของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมากทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีค่ามาก จึงมีรูปร่างแน่นอน และมีปริมาตรคงที่ เช่น กำมะถัน ตะปู
            2.ของเหลว อนุภาคของสารในสถานะของเหลวจะอยู่ใกล้กัน จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคค่อนข้างมาก อนุภาคเคลื่อนที่ได้บ้าง จึงทำให้ของเหลวไหลได้ มีรูปร่างไม่แน่นอนขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ แต่มีปริมาตรคงที่ เช่น น้ำ ปรอท
            3.แก๊ส อนุภาคของสารในสถานะแก๊สอยู่ห่างกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมาก ดังนั้นแก๊สจึงมีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ เมื่ออยู่ในภาชนะจะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะ เช่น ไอน้ำ
 
 
การเปลี่ยนแปลงของสาร
             การเปลี่ยนแปลงของสาร
            หมายถึง ผลต่างระหว่างสมบัติของสารหลังการเปลี่ยนแปลงกับสมบัติของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
            1. การเปลี่ยนสถานะ (s, l, g)
            2. การละลาย (Solute + Solvent  → Solution)
            3. การเกิดปฏิกิริยาเคมี (สารตั้งต้น      ได้    สารใหม่)
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามจะมีพลังงานเกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วยเสมอ ซึ่งอาจจะดูดหรือคายพลังงานก็ได้  ต้องกำหนดขอบเขตของสิ่งที่เรากำ ลังศึกษาทดลองอยู่
            ก. ระบบ (System) หมายถึง สิ่งที่กำ ลังศึกษาหรือทดลองอยู่
            ข. สิ่งแวดล้อม (Surrounding) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติของระบบก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงจะต่างกัน ถ้าสมบัติข้อหนึ่งข้อใดเปลี่ยนแปลง ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบ
 
ชนิดของระบบ
 ชนิดของระบบ ระบบแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
            1. ระบบเปิด (Open System) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทมวลสารและพลังงานแก่สิ่งแวดล้อม เช่น
นำ CaCO3(s) ทำ ปฏิกิริยากับกรด HCl เกิด CaCl2 นํ้าและก๊าซ CO2 ดังสมการ
CaCO3 + 2HCl(aq)          -----         CaCl2(aq) + H2O(1) + CO2(q)
พบว่ามีก๊าซ CO2 หนีออกไปนํ้าหนักลดลง และอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงด้วย แสดงว่ามีการถ่ายเทมวลสารและพลังงานระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม
            2. ระบบปิด (Closed System) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทพลังงานอย่างเดียว แต่มวลสารไม่ถ่ายเท
(มวลสารคงที่) เช่น นำ สารละลาย KI + สารละลาย Pb(NO3)2 ในบีกเกอร์จะพบว่าบีกเกอร์เย็นลงแต่มวลสารเท่าเดิม
            3. ระบบแยกตัว หรือระบบอิสระ (Isolated System) หมายถึง ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลสารและ
พลังงานระหว่างระบบ และสิ่งแวดล้อม เช่น คาร์ลอริมิเตอร์ กระติกนํ้า ซึ่งถือว่ามวลสารและพลังงานคงที่เนื่องจากมีฉนวนกันความร้อนอย่างดี
หมายเหตุ 1. ทั้งระบบเปิดและปิดจะมีพลังงานถ่ายเทระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม
                 2. ระบบเปิดและปิดไม่เกี่ยวกับการปิดหรือเปิดภาชนะแต่ขึ้นกับมวลสาร

 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ
 การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ
            เราทราบมาแล้วว่าทั้งระบบเปิดและระบบปิดมีการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อมเสมอ และพลังงานส่วนใหญ่เป็นพลังงานความร้อนด้วย แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ
            1. การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน (Exothermic System) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ระบบถ่ายเทพลังงานให้แก่สิ่งแวดล้อม (ความร้อนไหลออกจากระบบหรืออุณหภูมิของระบบต้องสูงกว่าสิ่งแวดล้อม)
            2. การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน (Endothermic System) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ระบบดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อม (ความร้อนจากสิ่งแวดล้อมไหลเข้าระบบหรืออุณหภูมิของระบบตํ่ากว่าสิ่งแวดล้อม)
 
           

2.3งานกับการคำนวณเกี่ยวกับงาน

การคำนวณเกี่ยวกับงานเเละพลังงานจลน์ 

 1.เลือกตำเเหน่งตั้งต้นเเละตำเเหน่งสุดท้ายของวัตถุเเละวาดเเเผนภาพวัตถุเสรีเเสดงเเรงทั้งหมดที่กระทำต่อวัตถุเขียนรายการเเรงทั้งหมดเเละคำนวนงานที่เรงเเต่ละเเรงทำในกรณีอาจมีเเรงบางเเรงที่ไม่รู้ค่าด้วยสัญลักษณ์พืชคณิตให้เเน่ใจได้ว่าได้ตรวจดูเครื่องหมายบว่าถูกต้องเมื่อเเรงมีองค์ประกอบในทิศเดียวกับการกระจัดงานโดยเเรงนั้นมีค่าเป็นบวกเมื่อเเรงมีองค์ประกอบในทิศตรงข้ามกับการกระจัดงานมีค่าเป็นลบเมื่อเเรงเเละการกระจัดตั้งฉากกัน งานมีค่าเป็นศูนย์
2. บวกงานที่เเรงเเต่ละเเรงเเยกทำเพื่อหางานทั้งหมด ให้ระวังเรื่องเครื่องงหมายอีกเช่นกัน บางครั้งการคำณวนกผลบวกเวกเตอร์ของเเรง(เเรงสุทธิ)ก่อนเเล้วก็ค่อยหางานโดยเเรงสุทธิอาจง่ายกว่า
3.เขียนนิพจน์สำหรับพลังงานจลน์ตอนตั้งต้นเเละตอนสุดท้าย K1 เเละ K2ปริมาณเช่น V1หรือ V2
เป็นปริมาณที่ไม่รู้ค่าก็เขียนปริมาณนั้นในรูปของพืชคณิตที่เหมาะสม เมื่อพวกคุณคำนวณพลังงานจลน์ให้เเน่ใจว่าพวกคุณใช้มวลของวัตถุไม่ใช่น้ำหนัก
4. ใช้ความสำพันธ์ wtot =k2-k1= Dk เเทนค่าผลจากขั้นตอนข้างตนเเละเเก้สมการหาปริมาณไม่รู้ค่าที่ต้องการ ให้จำไว้ว่าพลังงานจลน์มีค่าเป็นลบไม่ได้ ถ้าคุณได้Kเป็นลบเเสดงว่าคุณได้ทำผิดเเล้ว บางทีคุณอาจสลับ ที่ตัวห้อย เเละ หรือไม่ก็ทำเครื่องหมายผิดที่ใดที่หนึ่งในการคำนวณ

 

สรุป

  เมื่อเเรงคงตัว ทำต่ออนุภาคซึ่งมีการกระจัดเป็นเส้นตรง เรานิยามงาน ที่เเรงนี้ทำว่า
                                                         W = Fs cosf =F.s
 fเป็นมุมระหว่าง เเละหน่วย  SI ของงานคือ 1จูล = 1นิวตัน เมตร(1J = 1N.m = 1kg.m2/s2)
งานเป็นปริมาณสเกลาร์ซึ่งมีเครื่องหมายพืชคณิต(บวกหรือลบ)เเต่ว่าไม่มีทิศทาง
พลังงานจลน์ ของอนุภาคมีค่าเท่ากับปริมาณงานที่ใช้ในการเร่งอนุภาคจากหยุดนิ่งให้มีอัตรา V
พลังงานจลน์ยังมีค่าเท่ากับงานที่อนุภาคนั้นสามารถทำได้ในกระบวนการที่ทำให้อนุภาคนั้นหยุดนิ่งพลังงานจลน์ของอนุภาคมวล ที่มีอัตราเร็ว คือ
                                                         K= 1/2 2 mv2
พลังงานจลน์เป็นสเกลาร์ที่ไม่มีทิศทาง พลังงานมีค่าเป็นบวกหรือ ศูนย์เสมอพลังงานจลน์มีหน่วยเดียวกับงาน: 1J=1N.m=1kg.m2/s2 
เมื่อเเรงทำต่ออนุภาคในขณะที่อนุภาคมีการกระจัดพลังงานจลน์ขออนุภาคเปลี่ยนไปเท่ากับงานทั้งหมดที่เเรงสุทธิทำต่อนุภาคนั้น
                                                      Wtot = K2-K1 = Dk       
เราเรียกความสำคัญนี้ว่าทฤษฎีงานเเละพลังงาน มฤษดีนี้ใช้ได้เเม้ว่าเเรงต่างๆมีค่าคงตัวหรือเเปรเปลี่ยนเเละไม่สำคัญที่ว่าเส้นทางของอนุภาคเคลื่อนที่ไปนั้นเป็นเส้นทางตรงหรือเส้นทางโค้งทฤษดีนี้ใช้ได้กับวัตถุที่สามารถมองว่าเป็นจุดเท่านั้น
   เมื่อเเรงมีค่าเเปรเปลี่ยนในระหว่างการกระจัดเป็นเส้นตรง เเละเเรงอยู่ในเเนวเดียวกับการกระจัดงานที่เราทำนั้นหาได้จาก                               
                                                 W = òx1x2 F dx 
ถ้าเราทำมุมfกับการกระจัดงานที่เรานี้ทำคือ
                                        W= òp2p1 Ffcos dl = òp2p1 F dl = òp2p1 F.dl
กำลังคืออัตรางานต่อเวลาถ้าทำงานDWในเวลาDtเรานิยามกำลังเฉลี่ยPavว่า
                                                      Pav = Dw/Dt = dW/dt
เรานิยามกำลังขณะหนึ่งว่า
                                                      p = lim DW/Dt = dW/dt  
   เมื่อเเรง ทำต่ออนุภาคซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว กำลังขณะหนึ่งหรืออัตราที่เเรงนั้นกระทำคือ
                                                      P = F.v
กำลังเป็นปริมาณสเกลาร์เช่นเดียวกับงานเเละพลังงานจลน์   ในหน่วย SI หน่วยของกำลังคือ1วัตต์ =1จูล/วินาที(1 W= 1 J/s)

2.4การใช้และการอนุรักษ์พลังงาน

ความหมายของการอนุรักษ์พลังงาน

คือการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด การอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย
การอนุรักษ์พลังงานคืออะไร
การอนุรักษ์พลังงาน เป็นวัตถุประสงค์หลักภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายคือ อาคารควบคุมและโรงงานควบคุม ต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ข้อมูล บุคลากร แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายและกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังใช้เป็นกรอบและแนวทางปฎิบัติในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดียิ่งขึ้น
การดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ท่านจะได้รับความช่วยเหลือตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในหลายเรื่องด้วยกันคือ :
1. เงินช่วยเหลือเงินอุดหนุนสำหรับการกำหนดเป้าหมายและ แผนการอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม
2. เงินช่วยเหลือให้เปล่าไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น (หากต้องการ)
3. เงินอุดหนุนจำนวนร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายในการจัดทำเป้าหมายและ แผนอนุรักษ์พลังงาน (รวมค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียด) แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (หากต้องการ)
4. เงินช่วยเหลือให้เปล่าไม่เกิน 2,000,000 บาท สำหรับเจ้าของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม ที่ประสงค์จะปรับปรุงการออกแบบก่อสร้างโรงงานและอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือก่อสร้าง ทั้งนี้เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ามาตรฐานการอนุรักษพลังงานที่กำหนดไว้
5. เงินอุดหนุนสำหรับการลงทุนตามแผนอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (หากต้องการ)
6. สามารถเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ใครบ้างที่ต้องดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน
ผู้ที่จะอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้และมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 นั้น จะถูกเรียกว่า "อาคารควบคุม" หรือ "โรงงานควบคุม" แล้วแต่กรณี โดยจะเน้นไปที่อาคารและโรงงานที่มีการใช้พลังงานในปริมาณที่มากและมีศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงาน โดยจะประกาศออกมาเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมมาใช้บังคับ
อาคารหรือโรงงานจะเข้าข่ายเป็นอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมนั้น จะต้องมีลักษณะการใช้พลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1. ได้รับอนุมัติจากผู้จำหน่ายไฟฟ้าให้ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตตขึ้นไปหรือติดตั้งหม้อแปลงตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกันมี ขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ขึ้นไป หรือ
2.มีการใช้พลังงานไฟฟ้าความร้อน จากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอย่าง ใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่วันที่1 มกราคมถึงวันที31ธันวาคมของปี ที่ผ่านมามีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานงานไฟฟ้าตั้งแต่ 20 ล้าน เมกะ จูนขึ้นไป
พระราชกฤษฎีกากำหนดอาคาร ควบคุมหรือโรงงานควบคุมนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว120วันอาคารหรือโรงงานใดที่มีการใช้พลังงานดังกล่าวข้างต้นจะต้อง เริ่มดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามที่กฏหมายกำหนดไว้ โดยต้องดำเนินการตามรายละเอียดใน หัวข้อ เรื่องการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายต้องทำอะไรบ้าง
"อาคาร" หมายความว่า อาคารตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
"เจ้าของอาคาร" หมายความรวมถึง บุคคลอื่นซึ่งครอบครองอาคารด้วย
"โรงงาน" หมายความว่า โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
"เจ้าของโรงงาน" หมายความรวมถึง ผู้รับผิดชอบในการบริหารโรงงานด้วย

การอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายต้องทำอะไรบ้าง
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ได้กำหนดให้ผู้ที่เจ้าของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม มีหน้าที่ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในเรื่องดังต่อไปนี้
1. จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอย่างน้อย 1 คน ประจำ ณ อาคาร ควบคุมและโรงงานควบคุมแต่ละแห่ง
2. ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
3. ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ให้แก่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
4. บันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน
5. กำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานส่งให้กรมพัฒนาและ ส่งเสริมพลังงาน
6. ตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผน การอนุรักษ์พลังงาน
รายละเอียดและวิธีปฏิบัติต่างๆ ในข้อ 2 ถึงข้อ 6 จะประกาศออกเป็นกฎกระทรวง โดยได้สรุปสาระสำคัญไว้ในหัวข้อ เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย

ขั้นตอนที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จในการอนุรักษ์พลังงานและถูกต้องตามข้อกำหนดในกฎหมาย

 

การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน
1.เจ้าของอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมต้องนำผลการตรวจสอบและ วิเคราะห์การใช้พลังงานโดยะเอียด มาจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์ พลังงานโดยต้องคำนึกถึงมาตรฐาน การอนุรักษ์พลังงานที่กำหนด ไว้ในกฎหมาย
2.เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานต้องส่งให้ กรมพัฒนาและ ส่ง เสริมพลังงานให้ความเห็นชอบทุก ๆ 3 เดือน
3.ในครั้งแรกที่กฎกระทรวงเรื่อง การกำหนดเป้าหมายแลแผนอนุรักษ พลังงานมีผลใช้บังคับต้องส่งเป้าหมาย และแผนอนุรักษ์พลังงานภายใน 6 เดือนหลังจากส่งรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงาน โดยละเอียดแล้ว
4.การจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานต้องวดำเนินการโดย ที่ปรึกษาด้านอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน
เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานที่กรมพัฒนาและส่งเสริมเห็นชอบแล้ว จะได้รับเงินอุดหนุนจำนวนร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับเจ้าของอาคารควบคุมหรือที่ปรึกษา

การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น
ข้อกำหนดที่ควรทราบ 1. เจ้าของอาคารหรือโรงงานควบคุมต้องจัดให้มีการตรวจสอบและ วิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้นและจัดทำรายงานส่งให้กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงานทุก ๆ 3 ปี
2.ในครั้งแรกที่กฎกระทรวงเรื่อง การกำหนดเป้าหมายแลแผนอนุรักษ์ พลังงาน มีผลใช้บังคับต้องส่งรายงานภายใน 6 เดือน
3.การตรวจสอบแลแะวิเคราะห์รวมทั้งการจัดทำรายงานดังกล่าวต้อง ดำเนินการโดยที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงาน ที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเท่านั้น
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. คัดเลือกที่ปรึกษา ด้านอนุรักษ์พลังงานที่จะมาดำเนินการจากบัญชีราย ชื่อที่กรมพัฒนาส่งเสริมพลังงานประกาศและแจ้งชื่อของที่ปรึกษาให้ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทราบ
2.ยืนแบบรายละเอียด ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการว่างจ้างที่ ปรึกษาด้านอนุรักษ์พลังงานที่จะมาดำเนินการต่อสำนักกำกับและ อนุรักษ์พลังงาน(หากต้องการ)
3.กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานอนุมัติเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการ ว่าจ้างให้โดยเร็ว
4.เสนอรายงานต่อกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานตามระยะเวลาที่ กำหนด
รายงานที่ได้จัดทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จะได้รับการสนับสนุนเงินเปล่าไม่เกิน 100,000 บาท การจ่ายเงินจ่ายโดยตรงให้กับเจ้าของอาคารควบคุมหรือโรงงาควบคุมหรือที่ปรึกษา

การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียด
ข้อกำหนด 1.เจ้าของอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมต้องจัดให้มีการตรวจสอบและ
วิเคราะห์การใช้พลังงานโดยะเอียด ในอาคารควบคุมหรือโรงงานควบ
คุม และจัดทำรายงานส่งให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ทุก ๆ 3 เดือน
2.ในครั้งแรกที่กฎกระทรวง เรื่อง การกำหนดเป้าหมายและแผน อนุรักษ์พลังงาน มีผลใช้บังคับต้องส่งรายงานดังกล่าวภายใน 6 เดือน หลังจากส่งรายงานตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น แล้ว
3.การตรวจสอบและวิเคราะห์รวมทั้งการจัดทำรายงานดังกล่าวต้อง ดำเนินการโดยที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเท่านั้น
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.คัดเลือกที่ปรึกษา ด้านอนุรักษ์พลังงานที่จะมาดำเนินการจากบัญชีราย ชื่อที่กรมพัฒนาส่งเสริมพลังงานประกาศและแจ้งชื่อของที่ปรึกษาให้ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทราบ
2.ยืนแบบรายละเอียด ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการว่างจ้าง ที่ปรึกษาด้านอนุรักษ์พลังงานที่จะมาดำเนินการต่อสำนักกำกับและ อนุรักษ์พลังงาน(หากต้องการ)
3.กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานอนุมัติเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการว่า จ้างให้โดยเร็ว
4.เสนอรายงานต่อกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานตามระยะเวลาที่ กำหนด
กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยลัเอียดที่เกิดจากการว่าจ้างที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานรวมไปกับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
1.บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ พลังงาน เป็นประจำ
2.รับรองความถูกต้องของรายงานการใช้พลังงานและการอนุรักษ์ พลังงาน ที่ต้อง ส่งกรมกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
3.ช่วยเจ้าของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมจัดเป้าหมายและแผน อนุรักษ์พลังงาน
4.รับรองความถูกต้องของผลการตรวจสอบการปฎิบัติตามเป้าหมายและ แผนอนุรักษ์พลังงาน
คุณสมบัติที่ใช้เลือกผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
1.สำเร็จการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นหรือให้ความเห็นชอบ
2.สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงมีประสบการณ์ทำ งานในอาคารหรือโรงงานแล้วแต่กรณีอย่างน้อย 3 ปี และมีผลงานด้าน การอนุรักษ์พลังงานตามการรับรองของเจ้าของอาคารควบคุมและ โรงงานควบคุมแล้วแต่กรณี
3.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์หรือวิทยา ศาสตร์มีผลงานการอนุรักษ์พลังงานตามการรับรองของเจ้าของอาคาร ควบคุมหรือโรงงานควบคุมแล้วแต่กรณี

ข้อแนะนำ
สำหรับผู้รับผิดของด้านพลังงานที่เลือกจากคุณสมบัติในข้อ 2 หรือ 3 ควรจะเข้ารับ การฝึกอบรมหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานจัดขึ้น เพื่อจะได้มีทักษะและความเข้าใจในวิธีการอนุรักษ์พลังงานในแง่มุมต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
"เจ้าของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมต้องแจ้งชื่อผู้รับผิดชอบด้านพลังงานให้ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทราบภายใน 180 วัน นับจากวันที่เป็นอาคารควบ คุมหรือโรงงานควบคุม"
การรายงานการใช้พลังงาน
ข้อกำหนดที่ควรทราบ
1. ส่งข้อมูลการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ให้กรมพัฒนาและส่ง เสริมพลังงานทุก ๆ 6 เดือน
2. บันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งเครื่องจักร ฯ ที่มีผลต่อการใช้ พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานเป็นประจำทุกเดือน และเก็บข้อมูล เหล่านี้ไว้ประจำที่อาคารควบคุมอย่างน้อย 5 ปี
เนื้อหาการส่งข้อมูลมีอะไรบ้าง
1. ข้อมูลทั่วไปของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม ซึ่งได้แก่ สถานที่ตั้ง ระยะเวลาการทำงาน ประเภท/กิจการของอาคารและโรงงาน เป็นต้น
2. ข้อมูลการใช้ประโยชน์ในอาคารควบคุม เช่น ในโรงแรม ระบุจำนวน ของห้องพักที่จำหน่ายในแต่ละเดือน หรือข้อมูลการผลิตสำหรับโรงงาน ควบคุมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาเป็นต้น
3. ข้อมูลการใช้พลังงานทุกประเภทที่ใช้ในอาคารและโรงงานควบคุม ใน ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
4. ข้อมูลการอนุรักษ์พลังงานที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ถ้ามี)
เนื้อหาการบันทึกข้อมูลมีอะไรบ้าง
1. ข้อมูลทั่วไปทั่วของอาคารและโรงงาน
2. ข้อมูลลักษณะอาคาร เช่น พื้นที่ใช้ประโยชน์ หรือข้อมูลการผลิตในโรง งาน เป็นต้น
3. ข้อมูลการใช้พลังงานรายเดือน
4. ข้อมูลการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์หลัก ๆ ที่มีผลต่อ การใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน

ข้อมูลที่เป็นรายเดือนจะนำมาสรุปทุก ๆ 6 เดือน เพื่อส่งให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานแบบฟอร์มสำหรับการส่งข้อมูลและการบันทึกข้อมูล กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้จัดเตรียมให้เรียบร้อยขอได้จากสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงานได่ทุกวันในเวลาราชการ ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานต้องลงชื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูล ก่อนที่จะส่งให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานและควบคุมดูแลการบันทึกข้อมูลรายเดือน รวมทั้งรับรองความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลนั้น ๆ ด้วย
การปฏิบัติตามแผนอนุรักษ์พลังงาน
ข้อกำหนด
1. ปฏิบัติตามแผนอนุรักษ์พลังงานจะดำเนินการได้เมื่อกรมพัฒนาและ ส่งเสริมพลังงานได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและการ ลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและให้ความเห็นชอบกับแผนนั้นแล้ว
2. แผนอนุรักษพลังงานจะได้รับสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนเพื่อ การอนุรักษ์พลังงาน(หากต้องการ)
ความช่วยเหลือทางการเงิน
1. การสนับสนุนทางการเงิน อาจอยู่ในรูปของเงินเปล่าเพื่ออุดหนุนภาระ ดอกเบี้ยในการลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หากเป็นไปได้ตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
2. การเบิกเงินจะแบ่งเป็น 3 งวด คือ
- ร้อยละ 30 เมื่อส่งคืนเครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุมาให้กับอาคารหรือ โรงงาน
- ร้อยละ 40 เมื่อได้รับการติดตั้งเครื่องจักร ฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- ร้อยละ 30 เมื่อได้รับผลการอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามแผน ฯ

การขอรับการสนับสนุนทางการเงิน
ในการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมตามกฎหมายกำหนดให้เจ้าของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมสามารถขอรับการสนับสนุนทางการเงินจาก
"กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน" ซึ่งได้ให้รายละเอียดไว้ในหัวข้อเรื่อง การอนุรักษ์พลังงานคืออะไร กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้จัดทำแบบฟอร์มขอรับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายไว้แล้วเช่นกัน

คำขอรับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานดังต่อไปนี้
1.การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น ต้องดำเนินการ โดยที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาและ ส่งเสริมพลังงานเท่านั้น สำหรับวิธีการตรวจสอบ วิเคราะห์และการจัด ทำรายงานต้องเป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง เรื่อง การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และประกาศกระ ทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง วิธีการจัดทำ รายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงาน ทั้งนี้เพื่อให้ การตรวจสอบ วิเคราะหและการจัดทำรายงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน
2.การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียดและ การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ต้องดำเนินการเช่น เดียวกับการอนุรักษ์พลังงาน
3.การสนับสนุนการลงทุนตามแผนอนุรักษ์พลังงานต้องเป็นไปตามหลัก เกณฑ์และข้อกำหนดของคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุ รักษ์พลังงานรายงานการตรวจวิเคราะห์และรายงานการกำหนดเป้า หมายและแผนอนุรักษ์พลังงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมพัฒ นาและส่งเสริมพลังงาน จะได้รับการสนับสนุนทางการเงิน
โปรดระลึกเสมอว่า " คำขอรับการสนับสนุนทางการเงินจะต้องได้รับความเห็นชอบในหลักการ จากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานก่อน "

เอกสารประกอบการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย
เอกสารประกอบการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายที่เจ้าของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุมขอเพิ่มเติมดังนี้
เอกสารสำหรับอาคารควบคุม ประกอบด้วย
- คำแนะนำการกรอกแบบฟอร์มสำหรับการส่งและบันทึกข้อมูลการใช้ พลังงาน
- วิธีดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น
- วิธีการจัดทำรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้อง ต้น
- วิธีดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานอย่าง ละเอียด
- วิธีการจัดทำรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานอย่าง ละเอียด
- วิธีดำเนินการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน
- วิธีดำเนินการและการจัดทำรายงานตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติ ตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน
เอกสารสำหรับโรงงานควบคุม ประกอบด้วย
- คำแนะนำการกรอกแบบฟอร์มสำหรับการส่งและบันทึกข้อมูลการใช้ พลังงาน
- วิธีดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น
- วิธีการจัดทำรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้อง ต้น
- วิธีดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานอย่างละเอียด
- วิธีการจัดทำรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานอย่าง ละเอียด
- วิธีดำเนินการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน
- วิธีดำเนินการและการจัดทำรายงานตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติ ตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น